คำแนะนำ

  • วัตถุประสงค์ :

    เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรม และสร้างการเรียนรู้การถอดบทเรียนจากการลงมือทำให้กับเด็กและ
    เยาวชน

  • ระยะเวลาที่ใช้ : 60 นาที
  • ระดับความยาก : ปานกลาง
  • วัสดุและอุปกรณ์ :

เกริ่นนำ

การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำเกิดขึ้นได้ด้วยการสรุปผลและถอดบทเรียนหลังการทำกิจกรรรม ซึ่งเครื่องมือ
ที่ใช้กันโดยทั่วไปคือ After Action Review หรือ AAR โดยจะช่วยให้ผู้ทำกิจกรรมได้ย้อนนึกถึงงานและ
กิจกรรมที่แต่ละคนได้ทำไป ได้พิจารณาว่าสิ่งใดเป็นไปตามแผนหรือไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เพราะอะไร
จึงเป็นหรือไม่เป็นไปตามแผน เพื่อสรุปเป็นบทเรียนและนำไปปรับปรุงในโอกาสต่อไป
การทำ AAR ให้เกิดประโยชน์สูงสุดควรให้รีบทำหลังจบกิจกรรม หรือไม่เกิน 1 สัปดาห์ ด้วยทุกคนในทีม
ยังจำเหตุการณ์ได้ ทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นและอารมณ์ความรู้สึก นอกจากนั้นหัวใจสำคัญของการถอดบทเรียน
ด้วย AAR นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ไม่
ตัดสิน ไม่โทษหรือหาคนผิดหากงานมีความผิดพลาด และควรมีผู้นำกระบวนการและจดประเด็นต่างๆ
ในระหว่างการพูดคุย 1-2 คน
ทั้งนี้ผู้นำกระบวนการสามารถช่วยเน้นให้การพูดคุยนั้น
1. เน้นพูดคุยกันว่ากิจกรรมที่ผ่านไป เกิดอะไรขึ้นบ้าง
2. ให้มีการเปรียบเทียบกิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงกับแผนที่ทีมวางไว้ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามแผน
หรือไม่อย่างไร และเพราะอะไร
3. เน้นการสร้างความเชื่อใจ และให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น
4. ชี้ให้ทีมเห็นถึงประโยชน์ของยอมรับผลตอบรับ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีต่างเป็นบทเรียนให้ทีมได้
กระบวนการพูดคุย สรุปผล และถอดบทเรียนนี้ หากทำจนเป็นปกติจะทำให้เกิดวัฒนกรรมการทำงานที่
เปิดโอกาสให้ทีมเรียนรู้และพัฒนาไปด้วยกัน

วัตถุประสงค์

เพื่อประเมินผลการจัดกิจกรรม และสร้างการเรียนรู้การถอดบทเรียนจากการลงมือทำให้กับเด็กและ
เยาวชน

ขั้นตอนเบื้องต้น

1. ทบทวนร่วมกันถึงเป้าหมาย แผนงาน และสิ่งที่เกิดขึ้น
2. การทบทวนการทำงานของแต่ละคน
3. สิ่งที่เป็นไปตามแผน สิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผน สิ่งที่ควรพัฒนา

คำแนะนำ

  • ระดับความยาก : ปานกลาง
  • ระยะเวลาที่ใช้ : 60 นาที

Partner

school of changemakers

Tools Related: